ทำไมต้อง Neo-Mune

ทำไมต้อง Neo-Mune

ทำไมต้อง Neo-Mune

ทำความรู้จักอาหารทางการแพทย์

อาหารทางการแพทย์ คืออาหารที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประทานทางปากหรือให้ทางสาย โดยอยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์ จุดประสงค์เพื่อให้โภชนบำบัดโดยเฉพาะแก่โรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ หรือภาวะที่มีความต้องการอาหารเป็นพิเศษ โดยมีหลักฐานทางการแพทย์และพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นอาหารที่ถูกจัดว่าเป็นอาหารทางการแพทย์ต้องมีฉลากระบุ ปริมาณ และคุณค่าอาหารต่อวันและสภาวะหรือโรคที่เหมาะสม โดยมีข้อกำหนดสารอาหารบนฉลากของผลิตภัณฑ์ ดังนี้

  1. ชื่อเฉพาะที่เรียกผลิตภัณฑ์นั้นๆ
  2. มีข้อความระบุปริมาณที่แน่นอน มีชื่อบริษัทผู้ผลิต สถานที่ผลิต บรรจุภัณฑ์ และผู้จัดจำหน่าย
  3. แสดงรายละเอียดของส่วนผสมโดยแสดงชื่อที่ใช้เรียกโดยทั่วไป และตามลำดับของปริมาณที่ระบุ

สำหรับประเทศไทย อาหารทางการแพทย์ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาโดยต้องใช้ผลการทดลองระดับคลีนิค (Clinical Trial)

ชนิดของอาหารทางการแพทย์

 

1. Polymeric solution หมายถึงสูตรที่อาหารหลักได้แก่

  • คาร์โบไฮเดรตได้จาก กลูโคสโพลิเมอร์ เช่นมัลโตเดกซ์ตริน
  • ไขมันได้จาก ไตรกลีเซอร์ไรด์ (LCT: Long Chain Triglyceride) และบางสูตรจะมี Medium Chain Triglyceride (MCT)
  • โปรตีนเป็นทั้งโมเลกุลที่ได้จากพืชหรือสัตว์ เช่นโปรตีนจากถั่วเหลือง หรือเคซีน

โดยสัดส่วนของโปรตีนประมาณร้อยละ 12-20 สัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 40-60 สัดส่วนของไขมันร้อยละ 30-40 อาหารถูกผลิตมาในรูปผง หรือ ของเหลวสำเร็จพร้อมดื่ม ความเข้มข้นประมาณ 1 แคลอรี่/มิลลิลิตร ออสโมรารีตีของอาหารอยู่ประมาณ 300-450 มิลลิออสโม/ลิตร อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ใหญ่จะไม่มีแลคโตสเป็นส่วนประกอบ บางสูตรอาจมีความเข้นข้นสูงใช้สำหรับผู้ป่วยที่จำกัดน้ำ บางสูตรมีโปรตีนสูงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการโปรตีนสูงจากการสูญเสีย หรือภาวะที่มีเมตาบอลิสมสูง เช่น ในผู้ป่วยไฟไหม้ น้ำร้อนลวก บาดเจ็บรุนแรง หรือติดเซื้อรุนแรง จะมีโปรตีนอยู่ร้อยละ 24-26

2. Oligomeric Solution สารอาหารหลักคาร์โบไฮเดรตยังเป็นมัลโตเดกซ์ตริน ไขมันเป็น LCT และ MCT ส่วนโปรตีนอยู่ในรูปไดเปบไตด์หรือไตรเปปไตด์ ดูดซึมได้ดี อาหารกลุ่มนี้จึงเหมาะกับผู้ป่วยที่มีปัญหาย่อยและดูดซึม สัดส่วนของสารอาหารหลักจะคล้ายกับสูตรมาตรฐาน หรืออาจมีสัดส่วนของไขมันต่ำกว่าสูตรมาตรฐานเล็กน้อย

3. Monomeric solution สารอาหารหลักคาร์โบไฮเดรตเป็นมัลโตเดกซ์ตรินหรือกลูโคสโอลิโกแซคคาไรด์ ไขมัน LCT และ MCT ส่วนโปรตีนอยู่ในรูปไดเปปไตด์ หรือไตรเปปไตด์ ดูดซึมได้ดี อาหารในกลุ่มนี้เหมาะจะใช้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาย่อยและดูดซึม หรือไม่ต้องการกระตุ้นการทำงานของตับอ่อน โดยอาหารกลุ่มนี้มักมีออสโมลาริตีสูงกว่ากลุ่ม Polymeric

4. สูตรอาหารเฉพาะโรค บางโรคหรือบางภาวะมีการเปลี่ยนแปลงของเมตาบอลิสมมาก โภชนบำบัดมีส่วนในการรักษาโรค หรือบรรเทาความรุนแรง บรรเทาความผิดปกติ หรือลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากสภาวะหรือโรคต่างๆ เหล่านั้นได้ เช่น

  • สูตรอาหารโรคไต มีความเข้มข้นสูง มีโพแทสเซียมและฟอสเฟตต่ำ
  • สูตรอาหารสำหรับโรคปอด มีสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตต่ำ มีไขมันสูง เพื่อลดการสร้างคาร์บอนไดออกไซต์จากการเผาผลาญพลังงาน
  • สูตรอาหารสำหรับผู้ป่วยตับแข็ง จะมีไขมันอยู่ในเกณฑ์ไม่สูง โปรตีนสูง และมีสัดส่วนของกรดอะมิโนแบบโซ่กิ่ง (Branch Chain Amind Acid:BCAA) สูง ในขณะที่มีกรดอะมิโนชนิดอะโรมาติก ต่ำ
  • สูตรอาหารสำหรับโรคมะเร็ง
  • สูตรอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน คาร์โบไฮเดรตอยู่ในรูปของเดกซ์ตริน
  • สูตรอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน เสริมด้วย กลูตามีน อาร์จินีน และ น้ำมันปลา (Fish oil )

 

5. Modular solution เป็นการดัดแปลงอาหารทางการแพทย์ให้เหมาะกับผู้ป่วยตามสภาวะโรค ไม่ได้เป็นสูตรสำเร็จที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป เช่น สูตรอาหารปั่น (Blenderlized diet) มีราคาถูกกว่าอาหารทางการแพทย์สูตรสำเร็จ แต่มีข้อจำกัดที่สำคัญคือ ความไม่แน่นอนของส่วนประกอบของสารอาหาร และการปนเปื้อนของจุลินทรีย์

ผู้ป่วยมะเร็งควรได้รับอาหารทางการแพทย์เฉพาะ

ในขณะเจ็บป่วยร่างกายต้องการพลังงานและสารอาหารเพิ่มมากขึ้น หากผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารชดเชยได้เพียงพอกับความต้องการขณะนั้น ร่างกายจะค่อยๆ สลายกล้ามเนื้อเพื่อให้ได้พลังงานทดแทนส่งผลให้กล้ามเนื้อลีบ น้ำหนักตัวลด และเกิดการขาดสารอาหารในที่สุด

ผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่มีภาวะเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร ทั้งจากความรุนแรงของโรคและผลข้างเคียงจากการรักษา ซึ่งความรุนแรงของภาวะทุพโภชนาการ จะส่งผลต่อการตอบสนองต่อการรักษา การเกิดโรคแทรกซ้อนและการติดเชื้อได้ มีรายงานในต่างประเทศพบว่าผู้ป่วยที่มีภาวะโภชนาการที่ดี มีการตอบสนองต่อการรักษาและอัตราการรอดชีวิต ที่สูงกว่าผู้ป่วยที่มีภาวะทุพโภชนาการร่วมด้วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง คือ อาหารหลัก 5 หมู่ ที่เน้นพลังงานและโปรตีนสูง มีคุณค่าสารอาหารครบถ้วนตามหลักธงโภชนาการ แต่ยังคงปฏิบัติตามการกินเพื่อป้องกันมะเร็งควบคู่ไปด้วย

โดยสารอาหารที่มีความสำคัญในผู้ป่วยมะเร็งมีดังนี้

  • โปรตีน คือกรดอะมิโนหลายตัวมารวมกันกลายเป็นสายโปรตีนขึ้น ในร่างกายคนเราประกอบไปด้วยกรดอะมิโนมากมาย โปรตีนช่วยสร้างกล้ามเนื้อ ฮอร์โมน โครงสร้างร่างกาย รวมไปถึงสารสื่อประสาท และระบบเม็ดเลือดทั้งเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด โปรตีนแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ กรดอะมิโนจำเป็น (Essential Amino Acid) กับกรดอะมิโนไม่จำเป็น (Non-Essential Amino Acid) กรดอะมิโนจำเป็น คือร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ต้องได้รับจากอาหาร ส่วนกรดอะมิโนไม่จำเป็น ร่างกายสามารถดึงเอาสารอื่นมาสร้างเป็นกรดอะมิโนได้

หน้าที่สำคัญของโปรตีนสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง คือ โปรตีนมีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน รักษาบาดแผลในผู้ป่วยผ่าตัดให้แผลหายเร็วขึ้น ลดการเกิดการติดเชื้อแทรกซ้อน ป้องกันการพัฒนาไปสู่ภาวะ Cancer Cachexia (กล้ามเนื้อฝ่อลีบ) และสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ

ผู้ป่วยมะเร็งจะมีความต้องการโปรตีนเพิ่มมากกว่าคนปกติโดยต้องการ 1.0-1.2 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน หรืออาจเพิ่มถึง 1.3 – 2.0 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน โดยขึ้นกับภาวะโภชนาการของร่างกายในขณะนั้น โดยถ้าเทียบเป็นเนื้อสัตว์ ควรทานอย่างน้อย 4-6 ช้อนโต๊ะ ต่อมื้อ (กรณีทาน 3 มื้อปกติ) หากร่างกายได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ กล้ามเนื้อจะถูกสลายไปใช้เป็นพลังงาน และหากยังขาดโปรตีนติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ร่างกายจะเริ่มอ่อนแรง ระบบภูมิคุ้มกันจะเริ่มบกพร่อง เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัวจากความเจ็บป่วยมากขึ้น และยังส่งผลต่อการรักษา ทั้งการผ่าตัด การให้เคมีบำบัด รวมถึงการฉายรังสี

  • อาร์จินีน และกลูตามีน ในสภาวะที่ร่างกายเรามีความเครียด บาดเจ็บ และเป็นมะเร็ง กรดอะมิโนที่เคยสร้างได้เองกลับไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้ ทำให้กรดอะมิโนที่เคยไม่ขาดก็ขาดได้ ตัวที่พบประจำได้แก่ กลูตามีน อาร์จีนีน ไทโรซีน ซีสตีอีน เป็นต้น ซึ่งกรดอะมิโนดังกล่าวนี้พบได้ตามกล้ามเนื้อปกติ แต่เมื่อขาดจึงพบภาวะกล้ามเนื้อฝ่อลีบได้ง่าย โดยเฉพาะในผู้ป่วยมะเร็ง นอกจากนี้ กรดอะมิโนดังกล่าวเป็นตัวสำคัญในการเสริมการทำงานของเม็ดเลือดขาวพวกลิมโฟไซท์ (Lymphocyte) อีกด้วย และกรดอะมิโนที่ชื่อว่า “อาร์จีนีน” ยังช่วยในการควบคุมสมดุลไนโตรเจนในร่างกาย ความสมดุลนี้สำคัญมาก เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่สมดุลไนโตรเจนเสียไปจะทำให้ผู้ป่วยเกิดสารพิษคั่งค้าง มีอาการซึมตอบสนองได้ช้า
  • น้ำมันปลา ประกอบด้วยกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว (Polyunsaturated Fatty acid; PUFA) ชนิดโอเมก้า-3 ซึ่งร่างกายคนเราไม่สามารถสร้างเองได้ 2 ชนิด คือ Eicosapentaenoic Acid (EPA) และ Docosahexaenoic Acid (DHA) ที่เป็นสารตั้งต้นของ Eicosanoids ที่สามารถช่วยลดการอักเสบได้

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการกินน้ำมันปลา เช่น เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเลือดออกในคนที่ใช้ยาหรือสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งการแข็งตัวของเลือด ความดันโลหิตลดลง และอาจเสริมฤทธิ์ของยาลดความดันการรับประทานในขนาดสูงอาจทำให้คลื่นไส้อาเจียนและถ่ายเหลว นอกจากนี้ ยังอาจได้รับสารพิษที่ตกค้างในปลา ในคนไข้มะเร็งสามารถรับประทานน้ำมันปลา ซึ่งประกอบด้วยกรดมันไม่อิ่มตัว โอเมก้า-3 ได้ เพราะมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ประสิทธิภาพยังไม่มีข้อมูลยืนยันที่ชัดเจน และหากจะรับประทานควรรับประทานในขนาดที่เหมาะสม เพราะถ้าหากรับประทานมากเกินไป จะทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ นอกจากนี้ ยังควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ข้าวกล้อง ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาร่วมด้วย

อาหารทางการแพทย์ Neo-Mune

เป็นอาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการโปรตีนและพลังงานที่สูง เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะทุพโภชนาการ ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยแผลไฟลวก ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น โดยเป็นสูตรที่มีสารอาหารครบถ้วน มีโปรตีนและพลังงานสูง และยังมีส่วนผสมของกลูตามีน อาร์จีนีน น้ำมันปลา จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่มีปัญหากินอาหารได้น้อย มีภาวะทุพโภชนาการ ทั้งในช่วงก่อนการรักษา ระหว่างการรักษา และหลังการรักษา

อ้างอิงจาก: หนังสือโภชนบำบัดมะเร็ง