บทความ

ความต้องการโปรตีนต่อวัน และกินอย่างไรให้เพียงพอ ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น โปรตีนเป็นสารอาหารที่จำเป็นที่สุดในการสังเคราะห์เนื้อเยื่อใหม่ การรักษาแผล เสริมสร้างภูมิต้านทานต่อภาวะต่างๆ ความต้องการโปรตีนของร่างกายขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย เช่นระดับโปรตีนอัลบูมิน ภูมิคุ้มกัน ปริมาณกล้ามเนื้อ ระยะการดำเนินของโรคที่เป็นอยู่ โดยเฉลี่ย ปริมาณความต้องการโปรตีนใน 1 วัน โดยคิดจากน้ำหนักตัวที่ควรเป็น “มิใช่น้ำหนักตัวที่ชั่งในปัจจุบัน”น้ำหนักที่ควรเป็นเพศชาย = ส่วนสูง (ซ.ม.) – 100เพศหญิง = ส่วนสูง (ซ.ม.) – 105ตัวอย่างเช่นชายไทย สูง 170 เซนติเมตร น้ำหนักตัวที่ควรเป็น คือ 70 กิโลกรัมหญิงไทย สูง 160 เซนติเมตร น้ำหนักตัวที่ควรเป็น คือ 55 กิโลกรัมสำหรับผู้ป่วยมะเร็งต้องการโปรตีนในปริมาณ 1.0-1.2 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน หรืออาจเพิ่มถึง...

ความสำคัญของโปรตีนกับผู้ป่วยมะเร็ง ถ้าไม่ได้รับจะเกิดผลอย่างไร? อาหารเป็นสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง การได้รับสารอาหารเพียงพอและเหมาะสมทั้งก่อนรักษา ระหว่างและหลังการรักษาจะช่วยให้ผู้ป่วยแข็งแรงขึ้น และมีความรู้สึกดีขึ้นมีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรคได้ เพิ่มปริมาณสารอาหารและพลังงานช่วยให้ผลการรักษาผู้ป่วยมะเร็งดีขึ้นโปรตีนเป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องได้รับอย่างเพียงพอทั้งปริมาณและคุณภาพ เนื่องจากโปรตีนเป็นส่วนประกอบของโครงสร้างเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย เป็นตัวควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ และใช้สร้างสารภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ในผู้ป่วยมะเร็งโปรตีนสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากหากผู้ป่วยได้รับพลังงาน และโปรตีนอย่างเพียงพอ นอกจากช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายดีขึ้น ช่วยป้องกันการติดเชื้อ แล้วยังช่วยให้ร่างกายตอบสนองการรักษาด้วยเคมีบำบัด และการฉายรังสีได้ดีขึ้น และช่วยให้บาดแผลหายเร็วขึ้นในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดโปรตีนที่เรารับประทานกันแบ่งออกเป็นสองชนิด คือ กรดอะมิโนจำเป็น (Essential Amino Acid) กับ กรดอะมิโนไม่จำเป็น (Non-Essential Amino Acid) กรดอะมิโนจำเป็นหมายถึง ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ต้องได้รับจากอาหาร ส่วนกรดอะมิโนไม่จำเป็นนั้นร่างกายสามารถดึงเอาสารอื่นมาสร้างเป็นกรดอะมิโนชนิดนี้ได้ ในสภาวะที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง กรดอะมิโนที่เคยสร้างได้เองบางตัวกลับไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้ ทำให้กรดอะมิโนที่เคยไม่ขาดก็ขาดได้ ชนิดที่พบประจำได้แก่ กลูตามีน อาร์จีนีน ไทโรซีน ซีสเตอีน เป็นต้น อีกทั้งร่างกายจะมีการหลั่งสารเคมี (Cytokine)...