ความต้องการโปรตีนต่อวัน

ความต้องการโปรตีนต่อวัน

ความต้องการโปรตีนต่อวัน และกินอย่างไรให้เพียงพอ

ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น โปรตีนเป็นสารอาหารที่จำเป็นที่สุดในการสังเคราะห์เนื้อเยื่อใหม่ การรักษาแผล เสริมสร้างภูมิต้านทานต่อภาวะต่างๆ ความต้องการโปรตีนของร่างกายขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย เช่นระดับโปรตีนอัลบูมิน ภูมิคุ้มกัน ปริมาณกล้ามเนื้อ ระยะการดำเนินของโรคที่เป็นอยู่ โดยเฉลี่ย ปริมาณความต้องการโปรตีนใน 1 วัน โดยคิดจากน้ำหนักตัวที่ควรเป็น “มิใช่น้ำหนักตัวที่ชั่งในปัจจุบัน”

น้ำหนักที่ควรเป็น

เพศชาย = ส่วนสูง (ซ.ม.) – 100

เพศหญิง = ส่วนสูง (ซ.ม.) – 105

ตัวอย่างเช่น

ชายไทย สูง 170 เซนติเมตร น้ำหนักตัวที่ควรเป็น คือ 70 กิโลกรัม

หญิงไทย สูง 160 เซนติเมตร น้ำหนักตัวที่ควรเป็น คือ 55 กิโลกรัม

สำหรับผู้ป่วยมะเร็งต้องการโปรตีนในปริมาณ 1.0-1.2 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน หรืออาจเพิ่มถึง 1.3 – 2.0 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน โดยขึ้นกับภาวะโภชนาการของร่างกายในขณะนั้น โดยถ้าเทียบเป็นเนื้อสัตว์ ควรทานอย่างน้อย 4-6 ช้อนโต๊ะ ต่อมื้อ (กรณีทาน 3 มื้อปกติ) ทั้งนี้ ผู้ป่วยมะเร็งสามารถขอคำปรึกษาถึงปริมาณที่เหมาะสมได้จากนักกำหนดอาหาร หรือนักโภชนาการ

สิ่งที่จะกล่าวต่อไปคือคำว่า Biological Value (BV) หรือ คุณค่าทางชีวภาพของโปรตีน ซึ่งใช้ในการประเมินคุณภาพของโปรตีน ค่านี้ยิ่งมีมาก แสดงถึงการที่ร่างกายจะนำไปใช้ได้ดี รวมถึงค่า Protein Digestibility Amino Acid Score (PDCAA) หรือ ค่าความสามารถในการย่อยโปรตีนโดยมีค่าสูงสุดเท่ากับ 1.0 หรือ 100% ดังตาราง

ตารางแสดงปริมาณ BV และ PCDAAS ในอาหาร

ตารางแสดงค่า BV และ PCDAAS

ในท้ายนี้สิ่งที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ป่วยมะเร็ง พึงได้รับเป็นอันดับแรก คือการได้รับพลังงานที่เพียงพอ ทั้งในส่วนของคาร์โบไฮเดรตและไขมัน โดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรตซึ่งถือเป็นสารอาหารให้พลังงานที่ราคาไม่แพง การได้รับพลังงานที่เพียงพอ จะป้องการการสลายโปรตีน หรือที่เรียกว่า “Protein Sparing Effect”

ได้รับพลังงานงานเพียงพอ à ร่างกายสามารถนำโปรตีนไปใช้ได้
ได้รับพลังงานไม่เพียงพอ à พลังงานติดลบ à ร่างกายนำเอาโปรตีนมาใช้เพื่อเติมพลังงานส่วนที่ขาด ทำให้ปริมาณโปรตีนที่เราทานเข้าไป ไม่สามารถใช้ได้เต็มจำนวนและประสิทธิภาพ
ดังนั้นการรับประทานอาหารในผู้ป่วยมะเร็ง จึงควรมองย้อนกลับมาที่พื้นฐาน คือการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อันได้แก่ ข้าวแป้งและธัญพืชไม่ขัดสี ผักและผลไม้ที่สะอาดและมีความหลากหลาย เนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพดี นมพร่องหรือขาดมันเนย ไขมันที่ดี รวมถึงดื่มน้ำที่สะอาดเพียงพอใน 1 วัน หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง อาหารแปรรูป หากสามารถปฏิบัติได้ ก็จะทำให้ได้รับพลังงานและสารอาหารที่เพียงพอเหมาะสม