Author: admin

เมื่อพูดถึงปัญหาทางโภชนาการที่สำคัญในคนไข้มะเร็ง ปัญหาอันดับต้น ๆ ที่มักจะพบเจอได้ก็คือเรื่องของภาวะทุพโภชนาการ (malnutrition) ค่ะ งานวิจัยระบุว่า ตั้งแต่เริ่มต้นวินิจฉัย ตรวจพบมะเร็ง ประมาณ 50% ของคนไข้ก็เริ่มมีปัญหาทางโภชนาการแล้วค่ะ และในโรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับอ่อน อุบัติการณ์ของภาวะทุพโภชนาการอาจจะมากถึง 85% เลยค่ะ (คนไข้สิบคน มีทุพโภชนาการเกือบเก้าคน) ทุพโภชนาการแล้วทำไม? ทำไมปัญหาทุพโภชนาการถึงเป็นปัญหาที่ต้องให้ความสำคัญ ก็เพราะเราพบว่าการเกิดภาวะทุพโภชนาการในคนไข้มะเร็ง ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันลดลง โอกาสในการติดเชื้อระหว่างการรักษาเพิ่มสูงขึ้น หากมีการผ่าตัดร่วมด้วย โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด และการฟื้นตัวก็จะช้าขึ้นค่ะ และที่สำคัญที่สุดคือจะลดประสิทธิผล รวมถึงเพิ่มผลข้างเคียงของการรักษา (เคมีบำบัด - รังสีรักษา) จนอาจจะต้องยืดระยะเวลาในการรักษาออกไป ซึ่งไม่เป็นผลดีเลยค่ะ เพราะนอกจากจะเพิ่มค่าใช้จ่ายแล้ว ยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของทั้งคนไข้และผู้ดูแลอีกด้วยน้ำหนักตัวกับภาวะทุพโภชนาการ ตัวชี้วัดหนึ่งที่ค่อนข้างมีความสำคัญในการวินิจฉัยภาวะทุพโภชนาการ ก็คือน้ำหนักตัวที่ลดลงไปโดยไม่ได้ตั้งใจนั่นเองค่ะ ข้อมูลพบว่าน้ำหนักที่ลดลงโดยไม่ตั้งใจ แม้เพียง 5% ก็สัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตที่มากขึ้นค่ะ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากเลยที่เราจะต้องดูแลน้ำหนักตัวให้คงที่ เพื่อให้การรักษามะเร็งทำได้อย่างต่อเนื่องค่ะแต่จากการศึกษาลึกลงไปเกี่ยวกับน้ำหนักตัวในคนไข้มะเร็ง เราพบว่าส่วนที่สำคัญคือมวลกล้ามเนื้อค่ะ ต้องเล่าก่อนว่าน้ำหนักตัวของคนเราจะประกอบด้วยองค์ประกอบหลายส่วน...

ภาวะคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดขึ้นจากผลข้างเคียงของการให้เคมีบำบัด เป็นภาวะที่พบได้บ่อยมากในกลุ่มคนไข้มะเร็งค่ะ จากการสำรวจคนไข้มะเร็งในประเทศไทย โดย รศ.ดร.ภญ.จงจิตร อังคทะวานิช พบว่าคนไข้ที่ได้เคมีบำบัดร้อยละ 100 มีอาการคลื่นไส้อาเจียน (จะพูดว่าแทบทุกคนที่ได้เคมีบำบัดจะต้องเจอก็ว่าได้ค่ะ) ดังนั้นปัญหานี้จึงเป็นปัญหาที่สำคัญมาก การดูแลทางโภชนาการเองก็มีส่วนสำคัญที่จะช่วยลดความรุนแรงของภาวะคลื่นไส้อาเจียนได้ วันนี้ป้าจึงขออนุญาตมาเล่าให้ฟังค่ะอาการคลื่นไส้อาเจียนจากการได้รับเคมีบำบัด อาการคลื่นไส้อาเจียนจากการได้รับเคมีบำบัด สามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภทคือ คลื่นไส้อาเจียนก่อนได้รับเคมีบำบัด (anticipatory) หลังได้รับเคมีบำบัดภายใน 24 ชั่วโมง (acute) และหลังได้รับเคมีบำบัด 1 – 4 วัน (delayed) ซึ่งยาเคมีบำบัดแต่ละชนิดก็ส่งผลแตกต่างกันค่ะ เพราะฉะนั้นบางคนได้เคมีบำบัดแล้วยังไม่มีอาการทันที ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีอาการในภายหลังนะคะ ต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องค่ะโดยทั่วไป คนไข้ที่ได้รับยาเคมีบำบัดที่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนสูง จะได้รับยาในกลุ่มของคอร์ติโคสเตียรอยด์ เช่น Dexamethasone หรือยากลุ่ม serotonin antagonists, dopamine antagonists เพื่อลดผลข้างเคียงเรื่องภาวะคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งขนาดยาก็จะแตกต่างกันไปตามความเสี่ยงและความรุนแรงของอาการค่ะ การดูแลทางโภชนาการในคนไข้ที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน สำหรับเรื่องของอาหารและโภชนาการ เราคงไม่มีอาหารที่กินแล้วจะป้องกันการคลื่นไส้อาเจียนได้ แต่จุดมุ่งหมายของการดูแลทางโภชนาการ...

เวลาพูดถึงเรื่องของอาหารกับโรคมะเร็ง เชื่อว่าในมุมมองของคนไข้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไข้ที่ผ่านการรักษาโรคมะเร็งมาจนหายแล้ว ประเด็นที่มักจะมาเป็นลำดับต้น ๆ ก็คือเรื่องของอาหารปลอดภัย (food safety) นั่นเองค่ะ ประสบการณ์ของป้าเองพบว่าคนไข้หลาย ๆ คนมีความกังวลมากถึงมากที่สุด เรียกได้ว่าเป็นห่วงทั้งเรื่องของความสะอาด เชื้อโรค ไปจนถึงการปนเปื้อนสารเคมีหรือสารพิษที่อาจจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งอีกรอบ จนในบางครั้งทำให้เกิดความเครียดเป็นปัญหาใหม่เกิดขึ้นไปอีก เรื่องของอาหารปลอดภัยเองก็มีเรื่องราวให้พูดกันเยอะแยะมากค่ะ วันนี้ป้าเลยขออนุญาตหยิบมาเล่าให้ฟังประเด็นหนึ่ง นั่นก็คือเรื่องของอาหารสุกสะอาด (neutropenic diet) ค่ะทำไมต้องสุกสะอาด? หลาย ๆ คนที่ผ่านกระบวนการรักษามะเร็งมาแล้ว (โดยเฉพาะเคมีบำบัด) น่าจะคุ้นเคยกับคำว่าอาหารสุกสะอาด หรือ neutropenic diet มาบ้างไม่มากก็น้อยนะคะ แน่นอนว่าในช่วงเวลาของการให้เคมีบำบัด การดูแลเรื่องอาหารปลอดภัยมีความสำคัญมาก ยิ่งในช่วงที่ให้เคมีบำบัดแล้วเม็ดเลือดขาวต่ำมาก ยิ่งต้องมีความระมัดระวังเรื่องการติดเชื้อเป็นพิเศษค่ะ แพทย์จึงมักสั่งอาหารสุกสะอาดให้คนไข้รับประทานในระหว่างอยู่ในโรงพยาบาล จนกว่าจำนวนเม็ดเลือดขาวจะเพิ่มขึ้น (ร่างกายฟื้นตัว) เพื่อจุดประสงค์ในการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อระหว่างอยู่ในโรงพยาบาลค่ะ แล้วอาหารสุกสะอาดคืออะไร? ความน่าสนใจก็คือในแต่ละโรงพยาบาล คำนิยามของอาหารสุกสะอาดก็มีความแตกต่างกันเล็กน้อยค่ะ โดยทั่วไปอาหารสุกสะอาด นอกจากจะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยโดยทั่วไปของโรงพยาบาลแล้ว มักจะงดอาหารบางชนิดด้วย ไม่ว่าจะเป็นผักผลไม้สด นมและผลิตภัณฑ์จากนมที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการพาสเจอไรซ์...

ในเดือนสิงหาคมของทุกปี มีวันสำคัญของคนไทยคือวันที่ 12 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันแม่แห่งชาติค่ะ ดังนั้นในเดือนนี้ ป้าจึงขออนุญาตเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับคุณแม่โดยเฉพาะ นั่นก็คือเรื่องของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั่นเองค่ะ แล้วการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เกี่ยวข้องอะไรกับมะเร็ง ติดตามอ่านได้เลยค่ะทำไมต้องนมแม่? แน่นอนค่ะ ป้าคิดว่าเราคงทราบกันดีถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับตัวคุณแม่เอง หรือประโยชน์สำหรับลูก แต่ป้าจะขออนุญาตเน้นประโยชน์ที่สำคัญมากอยู่ 2 ประการค่ะอันดับแรกคือประโยชน์ระยะสั้น การได้รับนมแม่สัมพันธ์กับโอกาสการติดเชื้อในทารกที่ลดลงค่ะ นอกจากสารอาหารในนมแม่ที่มีความเหมาะสมสำหรับลูกน้อยแล้ว สิ่งสำคัญที่พบในนมแม่ก็คือสารประกอบทางชีวภาพหลาย ๆ ตัว ที่ช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่ลูก โดยเฉพาะในช่วงที่ลูกยังมีระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่สมบูรณ์ค่ะ อันดับสองคือประโยชน์ระยะยาว มีงานวิจัยที่พบว่า การที่ลูกได้รับนมแม่ สัมพันธ์กับอัตราการเกิดโรคหอบหืด และโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ที่ลดลงในระยะยาวด้วยค่ะ ที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือ แม่ที่ให้นมลูกเองก็มีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2 น้อยกว่าแม่ที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เช่นกันค่ะ นมแม่ป้องกันมะเร็ง? สำหรับประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง เราพบว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งเต้านมที่ลดลง ทั้งในคุณแม่วัยก่อนหมดประจำเดือน และวัยหลังหมดประจำเดือนค่ะ เหตุผลสนับสนุนก็คือ ช่วงเวลาที่มีการให้นม แม่จะมีความเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย โดยระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะมีปริมาณลดลง การที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงชั่วคราวในช่วงที่ให้นมลูก จะช่วยลดการกระตุ้นเซลล์ของเต้านมให้แบ่งตัวและเจริญเติบโตชั่วคราว ความเสี่ยงในการที่เซลล์เหล่านั้นจะเจริญเติบโตผิดรูปไปเป็นเซลล์มะเร็งจึงลดลงค่ะและยิ่งให้นมในระยะเวลาที่มากขึ้น ก็ยิ่งสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมที่น้อยลงไปด้วยนะคะ...

เมื่อพูดถึงชนิดของมะเร็งที่พบได้บ่อยในประเทศไทย มะเร็งเต้านมก็เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่พบได้เป็นลำดับต้น ๆ ในคนไทยโดยเฉพาะในเพศหญิงนะคะ สถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติในปี พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา พบว่าในผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่ที่เข้ามารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล มะเร็งเต้านมนี่มาเป็นอันดับหนึ่งเลยค่ะ โดยในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด (3,610 คน) ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง มีมากถึง 23.5% ที่เป็นมะเร็งเต้านมค่ะ โดยที่ใครที่คิดว่ามะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้ในเพศหญิงเท่านั้น คิดผิดนะคะ เพราะในเพศชายก็สามารถพบมะเร็งเต้านมได้ค่ะ แต่โอกาสเกิดนั้นน้อยกว่าเพศหญิงมากค่ะ (สถิติในปี พ.ศ. 2559 พบว่า 99.99% ของผู้ป่วยรายใหม่เป็นเพศหญิง) ดังนั้นข้อมูลที่มีส่วนใหญ่จึงเป็นข้อมูลที่มีการศึกษาในเพศหญิงค่ะ ขออภัยคุณผู้ชายทุกท่านด้วยนะคะ แต่เอาไว้ป้าจะมาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับมะเร็งที่พบบ่อยในเพศชายในโอกาสหน้าค่ะแน่นอน ในเมื่อสถิติออกมาเช่นนี้ สิ่งสำคัญที่เราควรจะคำนึงถึงก็คือ แล้วเราจะทำอย่างไรเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านมดี มีปัจจัยอะไรบ้างที่เราสามารถปรับเปลี่ยนเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมได้ วันนี้ป้าจึงขออนุญาตเอาข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาเล่าให้ฟังค่ะ การป้องกันมะเร็งเต้านมในหญิงวัยก่อนหมดประจำเดือน ก่อนอื่นป้าต้องอธิบายก่อนว่าทำไมถึงจำแนกตามอายุ (เป็นวัยก่อนและหลังหมดประจำเดือน) เพราะมีการศึกษาพบว่าปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการเกิดมะเร็งเต้านมคือฮอร์โมนเอสโตรเจนค่ะ ผู้หญิงในวัยก่อนหมดประจำเดือนจะยังมีปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงอยู่ แต่ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนแล้ว ปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง ทำให้ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมที่เกิดจากตัวฮอร์โมนเอสโตรเจนเองลดลงค่ะ แต่เราก็พบว่า ยิ่งผู้หญิงอายุมาก ความเสี่ยงโดยภาพรวมของการเกิดมะเร็งเต้านมก็จะสูงขึ้นอยู่ดีนะคะ เพราะยังมีปัจจัยอื่น...

ญาติและคนใกล้ชิดผู้ป่วย มีส่วนช่วยในการให้กำลังใจเป็นอย่างมากเพื่อให้มีความพร้อมที่จะต่อสู้กับโรคมะเร็งได้ โดยใช้ความตั้งใจในการรับฟังผู้ป่วยมากขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยอยู่ในช่วงเวลาที่ยากลำบากในการดำเนินชีวิตทั้งร่างกายและจิตใจ รวมถึงการพูดคุย การเยี่ยมเยียนอย่างสม่ำเสมอ การปฎิบัติตัวกับผู้ป่วยโดยเฉพาะการสัมผัส และการกอดด้วยความรักและห่วงใย ย่อมบ่งบอกได้ดีกว่าคำพูดเพียงอย่างเดียว หรือการทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัวและเพื่อนสนิท จะทำให้ผู้ป่วยมีกำลังใจและมีพลังในการดำเนินชีวิตต่อไปอาหารสำหรับผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ (Neutropenic Diet) ผู้ป่วยมะเร็งที่ทำการรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือผู้ป่วยมะเร็งระบบเลือดที่ต้องปลูกถ่ายไขกระดูก จะพบปัญหาภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ หรือระดับเม็ดเลือดขาวต่ำกว่าปกติ เมื่อระดับ Neutrophill ต่ำกว่า 500 cell/ mm3 ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาส เช่น รับประทานอาหารที่ไม่สะอาด ยังไม่ผ่านความร้อนดีพอ ก็เกิดการติดเชื้อทำให้ท้องเสีย ถ่ายท้อง ซึ่งในผู้ป่วยมะเร็งมักมีภาวะทุพโภชนาการหรือขาดสารอาหารอยู่แล้ว หากยังมาท้องเสียร่วมด้วยทำให้เกิดอาการอ่อนแรง เพลีย เกิดภาวะทุพโภชนาการอย่างต่อเนื่องจนไม่สามารถรับเคมีบำบัด หรือทำการรักษาได้จนจบ ยิ่งไปกว่านั้นอาจเสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้หลักการจัดอาหารแบคทีเรียต่ำ หลักการง่ายที่สุด คือ พยายามให้อาหารทุกชนิดผ่านความร้อนที่เพียงพอก่อนการรับประทาน และไม่เก็บอาหารที่อยู่ในช่วง Danger Zone Temperature คือ อุณหภูมิ 5-60 องศาเซลเซียส เวลาปรุงอาหารให้ใช้อุณหภูมิสูงกว่า...

ถ้าพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับอาหารและมะเร็ง เชื่อว่าอาหารชนิดหนึ่งที่มักจะมีการพูดถึงอยู่บ่อยครั้งก็คือนมและผลิตภัณฑ์จากนม โดยเฉพาะอย่างยิ่งนมวัว หากลองดูในอินเทอร์เน็ต จะพบว่าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับนมและมะเร็งจะแบ่งออกเป็นสองทาง บ้างก็บอกว่าห้ามดื่มนมเพราะมันจะเร่งมะเร็ง บ้างก็บอกว่าดื่มนมได้ ไม่เป็นไร แล้วข้อเท็จจริงทางการแพทย์นั้นเป็นอย่างไร? ติดตามในบทความนี้กับป้าได้เลยค่ะทำไมนมถึง(อาจ)เร่งมะเร็งได้? ข้อมูลที่มีการกล่าวอ้างว่านมเร่งมะเร็งนั้น โดยมากจะอธิบายด้วยสองเหตุผลใหญ่ คือการดื่มนมทำให้เลือดเป็นกรด ทำให้สมดุลร่างกายเสีย เป็นต้นเหตุให้เกิดมะเร็งตามมา โปรตีนในนมวัวนั้นมีฤทธิ์ทำให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตเมื่อประกอบกับข้อมูลงานวิจัยที่พบว่า ประเทศที่มีอัตราการดื่มนมมาก ก็มีอัตราการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งเต้านมมากขึ้น ก็จะได้ข้อสรุป ซึ่งเป็นที่มาของคำกล่าวอ้างว่า การดื่มนมเร่งมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งเต้านม” นั่นเองค่ะ แล้วข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร? เมื่อตรวจสอบข้อมูลงานวิจัย จะพบว่าคำกล่าวอ้างที่บอกว่าการดื่มนมทำให้เลือดเป็นกรดนั้นไม่เป็นความจริง มีงานวิจัยหลายงานที่พบตรงกันว่าการดื่มนมไม่ได้เปลี่ยนแปลงความเป็นกรดด่าง ทั้งในปัสสาวะและในร่างกาย (เลือด) ด้วย นอกจากนี้ คำกล่าวอ้างที่ว่าโปรตีนในนมวัวมีฤทธิ์ทำให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตนั้น ก็ต้องอธิบายว่ามะเร็งสามารถใช้สารอาหาร คือคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน เพื่อให้เจริญเติบโตอยู่แล้วค่ะ เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นโปรตีนหรือคาร์โบไฮเดรตชนิดใดที่ร่างกายย่อยได้ มะเร็งก็สามารถนำไปใช้ได้เช่นกันนะคะ แต่หากจะกล่าวอ้างว่าโปรตีนในนมวัวเร่งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งมากกว่าโปรตีนชนิดอื่น อันนี้ไม่ได้มีข้อมูลงานวิจัยที่มากพอสรุปว่าจริงเช่นกันค่ะและเมื่อพิจารณางานวิจัยที่เป็นการสำรวจที่มักมีการนำมากล่าวอ้างในส่วนของมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งเต้านม จะพบว่างานวิจัยนี้ไม่สามารถสรุปผลได้ว่านมวัวเร่งมะเร็ง เพราะงานวิจัยเชิงสำรวจระดับประเทศ เป็นงานวิจัยที่บ่งบอกว่าปัจจัย 2 ปัจจัย “อาจ” มีความสัมพันธ์กันในภาพใหญ่ (ระดับประเทศ)...